Usana fiber พรีไบโอติกอาหารจุรินทรีย์

 

usana fiber พรีไบโอติกอาหารจุรินทรีย์

 

เราได้พูดถึง จุรินทรีย์ดีที่เรียกว่า “โพรไบโอติก” ไปแล้ว มีอีกสิ่งหนึ่งที่เกี่ยวข้องกันและส่งเสริมให้ จุรินทรีย์(โพรไบโอติก) แข็งแรงและมีอายุยืนขึ้นด้วย สิ่งสำคัญคืออาหารของจุรินทรีย์ที่เราเรียกว่า “พรีไบโอติก” หรือที่เรามักจะรู้จักกันในนาม “ใยอาหาร(Fiber)” นั้นเองครับ

 

Foodicine] ใยอาหารมีกี่ชนิด ประโยชน์เป็นอย่างไร (Part : 1)

 

ยอาหารแบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือ

ใยอาหารชนิดที่ไม่ละลายน้ำ

ไฟเบอร์ชนิดที่ไม่ละลายในน้ำ (insoluble fiber) ที่พบมากในข้าวกล้อง ข้าวซ้อมมือ รำข้าวและผักต่างๆจะเข้าไปพองตัวคล้ายกับฟองน้ำเป็นการเพิ่มใยอาหารและปริมาณน้ำภายในกระเพาะอาหาร เมื่อมันเคลื่อนผ่านไปก็จะทำหน้าที่คล้ายไม้กวาดระบบทางเดินอาหารให้สะอาด

– ไม่ละลายน้ำแต่จะดึงน้ำไว้ ทำให้เกิดการพองตัวคล้ายฟองน้ำเป็นการเพิ่มปริมาตรของกระเพาะอาหาร ช่วยให้ผู้ที่รับประทานใยอาหารกลุ่มนี้รู้สึกอิ่ม

– ช่วยเร่งให้อาหารผ่านไปตามทางเดินอาหารได้เร็วขึ้น

-ช่วยเพิ่มมวลอุจจาระ ช่วยลดปัญหาท้องผูกได้

-ตัวอย่างเช่น เซลลูโลส เฮมิเซลลูโลส และลิกนิน

8 ชนิดข้าวที่นิยมทั่วโลก

ใยอาหารชนิดที่ละลายน้ำ

ไฟเบอร์ที่ละลายได้ในน้ำ (soluble dietary fiber) ก็จะดูดซับน้ำเอาไว้แล้วทำให้เกิดความหนืดเพิ่มมากขึ้นคล้ายกับก้อนเจลนุ่มๆหน้าที่ของมันคือดูดซับเอาน้ำมันและน้ำตาลเอาไว้ความสามารถในการดูดซับน้ำมันของไฟเบอร์ทำให้ปริมาณของโคเลสเตอรอลที่จะดูดซึมเข้าร่างกายน้อยลง สามารถช่วยลดระดับโคเลสเตอรอลในเลือด ลดไขมันเลว LDL ซึ่งเท่ากับเป็นการลดความเสี่ยงของการเกิดโรคหัวใจและโรคเกี่ยวกับหลอดเลือดได้เป็นอย่างดี ไฟเบอร์ชนิดนี้ซึ่งพบมากในผลไม้ ถั่วและข้าวโอ๊ตจะดูดซับน้ำตาลเอาไว้ทำให้นํ้าตาลถูกดูดซึมเข้าสู่ร่างกายน้อยลงจึงช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดโรคเบาหวานได้– ละลายน้ำได้และสามารถดูดซับสารที่ละลายในน้ำไว้กับตัว

– มีส่วนทำให้อาหารผ่านไปในทางเดินอาหารช้าลง

– ไม่ช่วยเพิ่มมวลอุจจาระ

– ช่วยลดการดูดซึมโคเลสเตอรอลและลดการดูดซึมเกลือน้ำดี

– ตัวอย่างเช่น เพคติน กัม และ มิวซิเลจ

7 ประโยชน์ของโยเกิร์ต ที่ควรกินทุกเช้า มันดีแบบนี้นี่เอง!!

 

ใยอาหารทั้ง 2 กลุ่มนี้จัดเป็น พรีไบโอติก ซึ่งเป็นส่วนประกอบของอาหารที่ไม่ถูกย่อยโดยเอนไซม์ในระบบทางเดินอาหารของมนุษย์ ใยอาหารกลุ่มนี้จึงผ่านระบบทางเดินอาหารไปสู่บริเวณลำไส้ใหญ่ในสภาพที่สมบูรณ์ และกลายเป็นอาหารของจุลินทรีย์กลุ่มโปรไบโอติกส์ เช่น แลคโตบาซิลลัส (Lactobacillus) ซึ่งเป็นตัวช่วยควบคุมเชื้อจุลินทรีย์ที่ร่างกายไม่ต้องการ ให้อยู่ในปริมาณที่ไม่ก่อให้เกิดโรคหรือเป็นการยับยั้งการเจริญของจุลินทรีย์ที่ก่อปัญหา ทำให้สุขภาพดีนั้นเอง

 

ขอบคุณข้อมูลจาก

th.wikipedia.org/wiki/เส้นใยอาหาร

medthai.com/ใยอาหาร/

thaihealth.or.th/Content/37169-%60ใยอาหาร%60สร้างสมดุลระบบทางเดินอาหาร.html

แบ่งปันเรื่องราวนี้...

Categories:

คุณน่าจะชื่นชอบเรื่องเหล่านี้

ยูซานาโคคิว 30 (USANA CoQ 30) ยิ่งอายุมากขึ้น […]
ยูซานาไบโอเมก้า (ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร) ไม่ใช่ยา […]

No responses yet

ใส่ความเห็น