Usana Biomega วันละ 2 เม็ด ให้ EPA + DHA 1,050 mg
น้ำมันปลาหรือฟิชออย (Fish oil) ตัวช่วยเพื่อเสริมให้ร่างกายมีสุขภาพแข็งแรงอยู่เสมอ โดยเฉพาะคนที่ต้องการดูแลสุขภาพหรือคนที่มีโรคประจำตัว และยิ่งในสถานการณ์ปัจจุบันที่การมีสุขภาพแข็งแรงเป็นเรื่องที่จำเป็น เมื่อมีอาการเจ็บไข้ได้ป่วยถึงแม้จะมีอาการเล็กๆ น้อยๆ แต่อาการอาจจะรุนแรงขึ้นกว่าทุกครั้ง และความเสี่ยงจะสูงขึ้นเมื่ออาการป่วยนั้นนำไปสู่การติดเชื้อเข้าสู่อวัยวะสำคัญในร่างกาย อาทิเช่น ภาวะปอดอักเสบติดเชื้อรุนแรง ซึ่งนำไปสู่คำถามที่ว่า เรากินน้ำมันปลาอย่างไร ที่จะลดความเสี่ยงเจ็บป่วยด้วยอาการที่รุนแรงขึ้นจากการอักเสบติดเชื้อเช่นเดิม?
เรากินน้ำมันปลาไปเพื่ออะไร?
เรากินน้ำมันปลาเพื่อให้ร่างกายได้รับกรดไขมันโอเมก้า-3 ซึ่งเป็นกรดไขมันจำเป็นต่อร่างกายที่ต้องได้รับเป็นประจำ ในน้ำมันปลาจะเต็มไปด้วยกรดไขมันโอเมก้า-3 ซึ่งกรดไขมันที่พบมากที่สุด คือ กรดไขมัน DHA (DOCOSAHEXAENOIC ACID) และกรดไขมัน EPA (EICOSAPENTAENOIC ACID) ซึ่งกรดไขมันกลุ่มนี้เองที่มีคุณสมบัติช่วยต้านการอักเสบภายในร่างกายที่เกิดจากการติดเชื้อ จึงช่วยลดความเสี่ยงของการเสียชีวิตจากภาวะอวัยวะทำงานล้มเหลวจากการติดเชื้อรุนแรง
จากงานวิจัยที่เผยแพร่ในวารสาร Cancer and Metastasis Reviews ( ที่มา ) ระบุว่า กรดไขมัน EPA และ DHA ที่พบในกรดไขมันกลุ่มโอเมก้า-3 เมื่อเข้าสู่ร่างกายแล้วจะถูกเปลี่ยนเป็น สาร Resolvins ซึ่งเป็นสารที่ทำหน้าที่ต้านการอักเสบในร่างกายนั่นเอง ดังนั้น น้ำมันปลาที่มีกรดไขมันโอเมก้า-3 จึงเชื่อกันว่ามีส่วนช่วยลดการอักเสบ เช่น ปอดอักเสบติดเชื้อ ลดความเสี่ยงที่จะเกิดภาวะการหายใจล้มเหลว ซึ่งเท่ากับเป็นการลดความเสี่ยงเสียชีวิตจากการติดเชื้อรุนแรงได้ อ่านแล้วก็น่าจะเรียกว่าเป็นข่าวดีอยู่ไม่น้อย ที่กรดไขมันโอเมก้า-3 น่าจะช่วยลดความเสี่ยงจากการติดเชื้อรุนแรงลงได้
แต่ความจริงอีกด้านคือ คนที่กินน้ำมันปลาแล้วยังพบว่าตัวเองป่วยจากการติดเชื้อง่าย มักได้รับกรดไขมันโอเมก้า-3 จากน้ำมันปลาในปริมาณที่ไม่เพียงพอต่อความต้องการในแต่ละวัน และขาดความต่อเนื่องสม่ำเสมอ จริงอยู่ที่หลายคนตื่นตัวกับการดูแลสุขภาพในช่วงที่ผ่านมา แต่เมื่อเวลาผ่านไปก็มักจะละเลย ขาดการดูแล จนกว่าจะมีเหตุให้ต้องกังวลอีกถึงจะกลับมาดูแลสุขภาพตัวเองอีกครั้ง นี่อาจเป็นสาเหตุที่ว่าทำไมกินน้ำมันปลาแล้วก็ยังป่วยติดเชื้อง่ายได้อีก
น้ำมันปลา กินแค่ไหนถึงจะเพียงพอ?
ถึงจะยังไม่มีการยืนยันหรือชี้ชัดว่าร่างกายมนุษย์ควรได้รับกรดไขมันโอเมก้า-3 ออกมาชัดเจน แต่จากการศึกษาวิจัยจากหลายสถาบันหรือหน่วยงานต่างๆ ต่างมุ่งไปในทางเดียวกันคือ ขึ้นอยู่กับจุดประสงค์ในการนำประสิทธิภาพของกรดไขมันโอเมก้า-3 ไปใช้สำหรับการบำรุงสุขภาพทั่วไป ปริมาณกรดไขมันโอเมก้า-3 ที่แนะนำ 500 มก./วัน ในขณะที่คนที่มีโรคหัวใจ ความดันโลหิตสูง โรคเกี่ยวกับหลอดเลือดหัวใจและสมอง ปริมาณกรดไขมันที่แนะนำ 1,000-2,000 มก./วัน ส่วนคนที่มีปัญหาไขมันไตรกลีเซอร์ไรด์สูง ปริมาณที่แนะนำ 2,000 – 4,000 มก./วัน (ที่มา )
สม่ำเสมอได้…สุขภาพดี
ความสม่ำเสมอคือคีย์สำคัญที่ร่างกายจะได้รับประโยชน์จากกรดไขมันโอเมก้า-3 ในน้ำมันปลาได้เต็มประสิทธิภาพ ผลวิจัยหลายชิ้นแนะนำว่า ประสิทธิภาพของน้ำมันปลาจะไม่เห็นผลทันที แต่ต้องอาศัยระยะเวลาถึงจะเริ่มเห็นผลลัพธ์ (ที่มา) นี่จึงเป็นเหตุผลที่ว่าทำไมกินน้ำมันปลาแล้ว ควรกินอย่างต่อเนื่องและสม่ำเสมอ
กินพร้อมอาหาร ประสิทธิภาพลดลงหรือไม่
จากการศึกษาวิจัยไม่ได้ระบุชัดถึงช่วงเวลาที่กินน้ำมันปลา จะมีผลต่อประสิทธิภาพของกรดไขมันโอเมก้า-3 มีเพียงข้อสังเกตที่ว่า การกินน้ำมันปลาพร้อมอาหารหรือหลังมื้ออาหาร ร่างกายจะดูดซึมได้ดีกว่าและลดอาการข้างเคียงอื่นๆ ได้ด้วย เช่น ท้องเสีย เรอมีกลิ่นคาว หรือคลื่นไส้
แหล่งกรดไขมันโอเมก้า3- ชั้นดีอยู่ที่ไหน?
แหล่งกรดไขมันโอเมก้า-3 ที่มีคุณภาพสูง มักจะอยู่ในกลุ่มของปลาทะเลน้ำลึก เช่น ปลาแองโชวี่ ปลาแซลมอน ถ้าเราไม่ได้กินปลาทะเลน้ำลึกเป็นประจำอยู่แล้ว เป็นเรื่องยากมากที่ร่างกายจะได้รับกรดไขมันโอเมก้า-3 เพียงพอ แต่ก็ยังมีอาหารอื่นๆ ที่ให้กรดไขมันโอเมก้า-3 ได้เหมือนกัน เช่น พืชต่างๆ หรือปลาน้ำจืด แต่ถ้าเทียบกันแล้วปลาทะเลน้ำลึกให้กรดไขมันโอเมก้า-3 สูงกว่าพืชหรือปลาน้ำจืด
นั่นเท่ากับว่าหากจำเป็นต้องเลือกกินอาหารที่เป็นแหล่งกรดไขมันโอเมก้า-3 แทนปลาทะเลน้ำลึก อาจต้องกินในปริมาณที่มากขึ้นเพื่อให้ได้กรดไขมันโอเมก้า-3 เทียบเท่าปลาทะเลน้ำลึก นี่จึงทำให้ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารประเภทน้ำมันปลากลายเป็นทางเลือกสำหรับคนที่ต้องการดูแลสุขภาพในระยะยาว รวมไปถึงผู้ป่วยโรคเรื้อรังต่างๆ ที่จำเป็นต้องรักษาสุขภาพให้แข็งแรงไว้เสมอ เพื่อลดความเสี่ยงที่อาการของโรคจะรุนแรงขึ้นจากภาวะการอักเสบจนพัฒนาไปสู่การติดเชื้อรุนแรง
No responses yet