Usana วิตามินและแร่ธาตุสำคัญอาจเชื่อมโยงกับคุณภาพการนอนหลับ
😴 การศึกษาใหม่แสดงให้เห็นว่าการรับประทานวิตามินและแร่ธาตุสำคัญอาจเชื่อมโยงกับคุณภาพการนอนหลับ
หลายคนนอนหลับได้น้อยกว่าระยะเวลาที่แนะนำ และส่วนใหญ่ไม่ได้บริโภควิตามินและแร่ธาตุสำคัญตามปริมาณที่แนะนำ การศึกษาใหม่ชี้ให้เห็นว่าปัจจัยทั้งสองอาจเชื่อมโยงกัน
งานวิจัยนี้ได้จากผลการสำรวจขนาดใหญ่จากทั่วประเทศสหรัฐอเมริกา โดยทำการเปรียบเทียบคนที่นอนหลับมากกว่าเจ็ดชั่วโมงต่อคืน กับคนที่นอนหลับได้น้อยกว่าเจ็ดชั่วโมงต่อคืน
นักวิทยาศาสตร์พบว่าคนที่หลับน้อยกว่าเจ็ดชั่วโมงต่อคืนนั้นบริโภควิตามินเอ วิตามินดี และวิตามินบี 1 รวมทั้งแมกนีเซียม ไนอาซิน แคลเซียม สังกะสีและฟอสฟอรัสโดยเฉลี่ย ต่ำกว่า
การศึกษานี้ยังพบว่าสารอาหารจำนวนมากมีความเกี่ยวข้องกับการนอนหลับที่ไม่ดีในผู้หญิงมากกว่าในผู้ชาย แต่สารอาหารเหลานี้จะมีผลลดลงถ้าผู้หญิงรับประทานผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร ดังนั้น อาหารเสริมสามารถช่วยเติมเต็มในผู้ที่ไม่สามารถรับประทานสารอาหารที่จำเป็นให้เพียงพอ
นอกเหนือจากการค้นพบช่วงระยะเวลาการนอนหลับ การวิจัยนี้แสดงให้เห็นว่าสารอาหารอาจมีบทบาทเกี่ยวกับความผิดปกติของการนอนหลับ คุณภาพการนอนหลับไม่ดี และปัญหาในการนอนหลับ
“การศึกษานี้เพิ่มหลักฐานการศึกษาที่มากขึ้น ที่พบความเชื่อมโยงของการบริโภคสารอาหารบางอย่างกับผลลัพธ์การนอนหลับและการค้นพบของเรายังแสดงให้เห็นว่าผู้ที่มีระยะเวลาการนอนหลับสั้นอาจได้รับประโยชน์จากการบริโภคสารอาหารที่จำเป็นกลุ่ม ไมโครนิวเทรียน( micronutrients) รวมถึงการรับประทานอาหารเสริม” Chioma Ikonte หัวหน้านักวิจัยกล่าว
สารอาหารไมโครนิวเทรียน( micronutrients) เป็นวิตามินและแร่ธาตุที่ร่างกายของเราต้องการ แต่ไม่สามารถสร้างได้เอง เป็นผลให้ต้องรับจากการรับประทานอาหาร ผู้คนหลายพันล้านคนทั่วโลกได้รับผลกระทบต่อสุขภาพจากการขาดธาตุอาหารอย่างน้อยหนึ่งชนิด
การศึกษาก่อนหน้านี้ได้แสดงให้เห็นถึงบทบาทที่สำคัญของสารอาหารไมโครนิวเทรียน( micronutrients) ต่อการเจริญเติบโตและพัฒนาการของร่างกาย การป้องกันและรักษาโรค และการทำงานของร่างกายตามปกติรวมถึงการนอนหลับ ตัวอย่างเช่นแมกนีเซียมช่วยให้ร่างกายผลิตเมลาโทนินและสารอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการนอนหลับ การศึกษาบางฉบับชี้ให้เห็นว่า สังกะสีมีบทบาทในการควบคุมการนอนหลับ
การศึกษาวิจัยฉบับนี้ได้ถูกนำเสนอในการประชุมประจำปีของ the American Society for Nutrition เมื่อต้นเดือนมิถุนายน ปี 2019.
งานวิจัยฉบับเต็ม
No responses yet