CoQ10 กับ 4 ความเสี่ยงเมื่อร่างกายขาด
1. เสี่ยงต่อการเกิดโรคเกี่ยวกับ “หลอดเลือดและระบบหัวใจ”
เพราะหัวใจเป็นอวัยวะที่ต้องใช้พลังงานอย่างมาก และโคคิวเทนก็เป็นสารที่ช่วยสร้างพลังงานให้กับเซลล์ต่างๆ โดยเฉพาะกล้ามเนื้อหัวใจ ดังนั้น เมื่อร่างกายขาดโคคิวเทนแน่นอนว่าจะส่งผลเสียต่อประสิทธิภาพการทำงานของระบบหัวใจที่ลดลง ทำให้กระบวนการสูบฉีดเลือดไปเลี้ยงส่วนต่างๆน้อยลงและอาจก่อให้เกิดภาวะหัวใจวายเฉียบพลันได้ในที่สุด นอกจากนี้ยังพบว่าโคคิวเทนมีส่วนลดการก่อตัวของไขมันที่ผนังหลอดเลือด และช่วยให้ผนังหลอดเลือดยืดหยุ่นได้ดี จึงมีส่วนช่วยในการลดความเสี่ยงโรคเกี่ยวกับหลอดเลือดได้
2. เสี่ยงต่อ “เซลล์ในร่างกาย หยุดทำงานทันที”
โคคิวเทน จัดเป็นสารอาหารที่ร่างกายจำเป็นสำหรับการสร้างพลังงานระดับเซลล์ หรือ เอทีพี (ATP) ให้กับทุก ๆ เซลล์ในร่างกาย ดังนั้นหากร่างกายขาดโคคิวเทนก็จะส่งผลให้เซลล์นั้น ๆ ไม่สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
3. เสี่ยงต่อการเกิด “โรคพาร์กินสัน”
โรคพาร์กินสันเกิดจากการเสื่อมของเซลล์ โดยเฉพพาะเซลล์ประสาทบริเวณสมอง ทำให้เซลล์สมองของการควบคุมประสาทการเคลื่อนไหวเสื่อมลง ซึ่งโคคิวเทนจะไปช่วยยับยั้งอนุมูลอิสระที่จะไปทำลายเซลล์สมอง ดังนั้นจึงช่วยลดการเสื่อมของเซลล์และลดความเสี่ยงในการเกิดโรคพาร์กินสัน
4. เสี่ยงต่อการเกิด “โรคอัลไซเมอร์”
เซลล์สมองต้องการพลังงานมาก และแน่นอนว่าสารที่ช่วยในการสร้างพลังงานให้กับเซลล์สมองได้ดีก็คือโคคิวเทนนั่นเอง นอกจากนี้โคคิวเทนยังช่วยต้านอนุมูลอิสระรอบๆผนังเซลล์ ไม่ให้เข้าไปทำลายดีเอ็นเออีกด้วย ดังนั้นการที่ร่างกายขาดโคคิวเทนจะทำให้เซลล์สูญเสียตัวช่วยสร้างพลังงาน ส่งผลให้สมองล้าและเสียหาย ก่อให้เกิดอาการของโรคอัลไซเมอร์ในที่สุด
No responses yet