5 พฤติกรรมเสี่ยงโรค NCDs
.
จากข้อมูลสถิติ ของการประชุมมหกรรมสุขภาพด้านโรคไม่ติดต่อ (NCD Forum 2018) พบว่าคนไทยมีอัตราการเสียชีวิตจากกลุ่มโรค NCDs ถึง 37 คน / ชั่วโมง หรือ 320,000 คน / ปี เเละในอนาคตมีเเนวโน้มที่จะมีผู้ป่วยเเละผู้เสียชีวิตมากขึ้นจากโรคนี้ โดย 6 โรคในกลุ่มโรคNCDs ที่มีผู้เสียชีวิตมากที่สุดคือ โรคเบาหวาน โรคหลอดเลือดสมองและหัวใจ โรคถุงลมโป่งพอง โรคมะเร็ง โรคความดันโลหิตสูง โรคอ้วนลงพุง
.
โรคกลุ่ม NCDs มีชื่อเรียกอย่างเป็นทางการว่า Non-Communicable diseases หรือ ภาษาไทยคือ โรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ส่วนมากอาการของโรคกลุ่มนี้อาจจะไม่แสดงอาการออกมาทันที แต่จะค่อยๆ เพิ่มความรุนแรงขึ้น ผู้ป่วยบางรายกว่าจะรู้ตัวว่าป่วยในระยะที่รักษาได้ยากแล้ว หรือบางรายก็เสียชีวิตกะทันหัน ทั้งนี้สาเหตุของโรค NCDs ไม่ได้เกิดจากเชื้อไวรัส การติดเชื้อ การติดต่อโรคผ่านตัวพาหะ หรือติดต่อผ่านการสัมผัสแต่อย่างใด แต่เกิดจากพฤติกรรมในการใช้ชีวิตทั้งสิ้น ดัง 5 พฤติกรรมหลักต่อไปนี้
.
การละเลยอาหารการกิน
พฤติกรรมการทานอาหาร ถือเป็นสาเหตุใหญ่ของโรค NCDs การทานอาหารหวานจัด เค็มจัด หรือทานของทอด ของมัน ก็เสี่ยงที่จะเป็นโรคความดันโลหิตสูง ไขมันอุดตันในเส้นเลือด รวมถึงโรคอ้วน ตามมาด้วยโรคอื่นๆที่มีสาเหตุจากโรคนี้ ส่วนการทานเค็ม จากการศึกษาของนักวิจัยทางการเเพทย์ในหลายประเทศยืนยันชัดเจนว่า การทานเค็มจะเพิ่มโอกาสในการเป็นโรคความดันโลหิตสูง เนื่องด้วยการติดตามกลุ่มคนที่ไม่ใช้เกลือในการประกอบอาหารเลย พบว่า กลุ่มคนที่ไม่ใช้เกลือประกอบอาหารความดันโลหิตจะไม่เพิ่มขึ้นตามอายุ ในทางตรงกันข้ามกลุ่มคนที่ใช้เกลือประกอบอาหารเป็นปกติความดันโลหิตจะเพิ่มขึ้นตามอายุเป็นส่วนใหญ่
.
ไม่ออกกำลังกาย
การขาดการออกกำลังกาย จะทำให้การเผาผลาญพลังงานลดลง การไหลเวียนโลหิตน้อยลง ส่งผลให้ภูมิคุ้มกันอ่อนเเอ ทำให้เกิดโอกาสเสี่ยงการโรคกลุ่ม NCDs การออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ ช่วยลดโอกาสการเป็นโรคในกลุ่มนี้ เพราะการออกกำลังกายจะทำให้หัวใจเเข็งเเรง ช่วยให้เลือดสูบฉีดได้ดีขึ้น ภูมิคุ้มกันเเข็งเเรง จากงานศึกษาวิจัยตัวอย่างประชากรโลกกว่าเเสนคน โดย Dr. Scott Lear ผู้เชี่ยวชาญด้านโรคหัวใจจากโรงพยาบาล St. Paul ประเทศแคนาดาเป็นหัวหน้าโครงการศึกษานี้พบว่า กลุ่มประชากรที่ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอเพียงวันละ 30 นาที สัปดาห์ละ 5 วัน สามารถช่วยลดความเสี่ยงการเสียชีวิตก่อนวัยอันควรอย่างเห็นได้ชัด อีกทั้งช่วยลดเสี่ยงโรคหัวใจด้วย
.
สูบบุหรี่จัด
ในบุหรี่ มีสารพิษกว่า 4,000 ชนิด ซึ่งมีอันตรายต่อร่างกายกว่าร้อยชนิด เเละเป็นสารก่อมะเร็งอีก 42 ชนิด ไม่ว่าจะเป็น อะซิโตน (Acetone) ทาร์ (Tar) และที่เรารู้จักกันดีคือนิโคติน (Nicotine) เมื่อสูบบุหรี่ทุกวัน สารเหล่านี้้จะไปทำลายปอดทำให้เกิดโรค เช่น ถุงลมโป่งพอง โรคหลอดลมอักเสบเรื้อรัง และโรคมะเร็งปอด นอกจากนี้โรคเบาหวาน ก็เป็นอีกหนึ่งโรคที่เกิดจากการสูบบุหรี่เช่นกัน จากงานวิจัยของศูนย์การแพทย์ทางการทหารในเมืองเบอร์มิงแฮม รัฐอลาบามาของสหรัฐฯ พบว่า การสูบบุหรี่เเละดมควันบุหรี่มีผลต่อระดับน้ำตาลในเลือด เป็นสาเหตุของโรคเบาหวาน โดยอาสาสมัคร 22% ของกลุ่มคนที่สูบบุหรี่ มีระดับน้ำตาลในเลือดสูง อีก 17% ของอาสาสมัครที่ไม่สูบบุหรี่เเต่ได้สูดดมควันบุหรี่เสมอ จะเริ่มมีภาวะน้ำตาลในเลือดสูง เเต่มีเพียง 11.5% ของกลุ่มคนที่เคยสูบบุหรี่เเละเลิกสูบเเล้ว ที่มีภาวะน้ำตาลในเลือดสูง
.
เครียด
เมื่อเครียดร่างกายจะตอบสนองด้วยการสร้างฮอร์โมนความเครียดออกมา หรือที่เรียกว่า ฮอร์โมนคอร์ติซอล(Cortisol) ส่งผลให้หัวใจเต้นถี่ขึ้น ความดันโลหิตสูงขึ้น ทั้งนี้ความเครียดยังส่งผลต่อพฤติกรรมการทานอาหารที่ทำให้บางคนทานมากเกินไป รวมทั้งมีพฤติกรรมเเก้ปัญหาความเครียดเเบบผิดๆ เช่นการดื่มเเอลกอฮอล์ การเสพยา หรือการสูบบุหรี่ ซึ่งพฤติกรรมนี้เองจะเพิ่มความเสี่ยงการเป็นโรคอ้วน โรคหัวใจ รวมถึงโรคมะเร็งด้วย
No responses yet