ถ้าคุณเป็นคนหนึ่งที่หาทานอาหารเสริม สารอาหารเพื่อสุขภาพตลอดอยู่แล้ว เราจะเห็นได้ว่าในท้องตลาดมีสารอาหารมากมายให้เราเลือกทานจนไม่รู้ว่าตัวไหนดีไม่ดีอย่างไรหนังสือเล่มนี้มีคำตอบ….
“NutriSearch Comparative Guide to Nutritional Supplements“

ซึ่งเป็นหนังสือเปรียบเทียบผลิตภัณฑ์อาหารเสริมทั่วทวีปอเมริกา ในประเทศอเมริกา แคนาดา แมกซิโก โคลัมเบีย กว่า 1,600 รายการ
เล่มล่าสุด เป็น 6th edition ปี 2017 (เล่มแรกได้พิมพ์ออกมาเมื่อปี 1999)โดยทุก ๆ edition จะมีการปรับปรุงข้อมูลทางวิทยาศาสตร์ที่ค้นพบใหม่ ๆ
:: อย่างเล่มล่าสุดนี้ ได้รับการเขียนใหม่อย่างสมบูรณ์ในแง่ของการค้นพบที่ก้าวล้ำจากการวิจัยทางโภชนาการของโลก การเปลี่ยนแปลงอย่างมากในความเข้าใจทางวิทยาศาสตร์ของเราเกี่ยวกับวิธีการทำงานของสารต้านอนุมูลอิสระในอาหาร และหลักฐานทางวิทยาศาสตร์นี้ได้พิสูจน์แล้วว่าสารต้านอนุมูลอิสระในอาหารส่วนใหญ่ไม่ทำงานอย่างที่เราคิด และเปลี่ยน criteria บางข้อ ที่ใช้ในการประเมินประสิทธิภาพของอาหารเสริมแต่ละยี่ห้อ
ผู้แต่งหนังสือเล่มนี้คือ Mr. Lyle MacWilliam, MSc, FP (ตามรูป) ซึ่งเป็นนักชีวะเคมีและเป็นประธานของ NutriSearch (บริษัทวิจัยอิสระของแคนาดา ที่ทำการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพต่างๆบนโลกนี้) มิสเตอร์ไลน์ แมควิลเลี่ยม เคยเป็นสมาชิกรัฐสภาของแคนาดา เคยเป็นที่ปรึกษาของรัฐมนตรีสาธารณสุขของแคนาดา และได้รับมอบหมายให้ทำการศึกษาวิจัยเปรียบเทียบผลิตภัณฑ์อาหารเสริมต่างๆในแคนาดา เพื่อเปรียบเทียบคุณภาพ ความปลอดภัย และประหยัด เพื่อเป็นข้อมูลให้กับคนแคนาดาสำหรับเลือกซื้อผลิตภัณฑ์อาหารเสริม
“ผู้บริโภคส่วนใหญ่ ไม่ได้รับการฝึกอบรมด้านโภชนาการ ผมหวังว่า การจัดพิมพ์หนังสือเล่มนี้ จะช่วยทำให้ผู้บริโภค แยกข้าวสาลี ออกจากแกลบ ได้“


หนังสือเล่มนี้จะใช้ Criteria 16 ข้อ(ตามรูป) เพื่อให้คะแนน ผลิตภัณฑ์แต่ละชนิด และรวบรวมคะแนนที่ได้มาให้เป็นดาว โดยเริ่มทีละ “ครึ่งดาว” คะแนนสูงสุดคือ “5 ดาว“
เกณฑ์มาตรฐาน 16 ข้อ
1 ความสมบูรณ์ ครบถ้วนของสารอาหาร
2 ความแรง ปริมาณสารอาหาร
3 รูปแบบวิตามินอีธรรมชาติ.
4 การดูแลระบบภูมิคุ้มกัน
5 สุขภาพกระดูก.
6 สุขภาพหัวใจและหลอดเลือด
7 การช่วยดูแลสุขภาพตับ(การขับสารพิษ).
8 การช่วยดูแลระบบเผาพลาญ
9 การช่วยสนับสนุนการทำงานตามวัยของร่างกาย.
10 ป้องกันภาวะการเกิดลิ่มเลือด
11 ป้องกันการสะสมไขมันที่ตับ
12 การดูแลกระบวนการอักเสบของร่างกาย
13 การดูแลระบบกระบวนการจัดการนำ้ตาล
14 การมีอายุยืน สารอาหารที่จำเป็นต่อร่างกาย
15 สารต้านอนุมูลอิสระที่ไม่จำเป็นเกินขนาด.
16 ความเป็นพิษต่ำ

ผลิตภัณฑ์ไหนที่ได้ 5 ดาว ก็จะมีการเข้าไปตรวจสอบเรื่องคุณภาพการผลิตที่บริษัทผู้ผลิตโดยตรง โดยจะต้องผ่านคุณสมบัติที่สำคัญคือ
1. ต้องเป็นบริษัทที่ได้มาตรฐาน Pharmaceutical grade GMP (คือมาตรฐาน GMP สำหรับการผลิตยา ปกติอาหารเสริมทั่วไปจะใช้ มาตรฐาน GMP ระดับการผลิตอาหาร Food grade GMP)
2. ต้องมี ห้องปฏิบัติการอื่นๆ (3rd-party Laboratory) ที่ไม่ใช่ของตัวบริษัทผู้ผลิตเอง เข้ามาตรวจสอบผลิตภัณฑ์ในเรื่อง ความบริสุทธิ์ไม่มีสารปนเปื้อน ปริมาณสารอาหารต้องตรงตามที่ระบุไว้ในฉลาก และต้องมีชนิดถูกต้องตามที่ระบุไว้ในฉลาก
บริษัทที่ผ่านเกณฑ์การตรวจสอบคุณภาพการผลิต ถึงจะได้รับ “ดาว” โดยมีบริษัทที่ได้รับ ตามลำดับ 1 2 3 4 5 ดาว และนอกจากดาวแล้ว อาจจะมีหลายๆ บริษัทที่ได้ 5 ดาวเท่ากัน ดังนั้นจึงได้มีการจัดลำดับเหรีญขึ้นด้วย เพราะการได้ 5 ดาวเหมือนกัน แต่ประสิทธิภาพของสารอาหารยังต่างกันอยู่จังมีการจัดลำดับเหรีญตั้งแต่ ทองแดง เงิน ทอง ไดมอน แพทตินัม และสูงสุดคือ แพทตินัม+ โดยมีเพียงบริษัทเดียวเท่านั้นที่ได้รับเหรียญสูงสุดแพทตินัม+ คือ USANA

และจะมีข้อมูลผลิตภัณฑ์อาหารเสริม ยี่ห้อต่างๆ และชนิดต่างๆ ทั้งหมด 1,600 ตัว เรียงตามตัวอักษร และมีคะแนนเป็นดาว ให้ดูเปรียบเทียบ (ตามรูปตัวอย่าง)

หนังสือเล่มนี้ พิมพ์ 1st edition มาตั้งแต่ปี 1999 โดยที่บริษัทยักษ์ใหญ่ที่มีส่วนแบ่งการตลาดสูงๆ กลับได้คะแนนน้อยมาก 1.5 – 3 ดาว (ตามรูป Market Share) แต่ไม่เคยมีบริษัทไหน “ฟ้องร้อง” หนังสือเล่มนี้เลย เพราะอะไรน่ะหรือ?
เพราะข้อมูลที่ใช้ศึกษาเปรียบเทียบในหนังสือเล่มนี้ อ้างอิงมาจากการศึกษาวิจัยทางวิทยาศาสตร์ ซึ่งข้อมูลของผลิตภัณฑ์ก็เป็นจริงตาม Criteria 16 ข้อ ที่ได้กำหนดขึ้นมาใช้เปรียบเทียบนั่นเอง จึงไม่มีการฟ้องร้องเกิดขึ้น (ถ้าข้อมูลไม่จริง หรือแต่งขึ้นมา คงโดนฟ้องร้องล้มละลายไปแล้ว เพราะหนังสือเล่มนี้ ตีพิมพ์ขายทั่วโลก มีฉบับภาษาอังกฤษ สเปน ฝรั่งเศษ และจีน)
ปัจจุบันนี้ มีอาหารเสริมยี่ห้อต่าง ๆ ผุดขึ้นมามากมาย เพราะยุคนี้คือยุคที่คนเราหันมาสนใจในเรื่องของสุขภาพ โรคภัยไข้เจ็บต่าง ๆ กันมากขึ้น ทุกคนต่างอยากแข็งแรงไม่เจ็บป่วย หรือบางคนก็หาอาหารเสริมทานเพราะไม่อยากแก่เร็ว (Anti-Aging) เลยมีธุรกิจเกี่ยวกับเรื่องสุขภาพเกิดขึ้นมามากมาย (ตามเทรนด์ของธุรกิจ เงินไหลมาทางไหน คนก็ต้องแห่ไปทางนั้น)
แต่เราจะรู้ได้อย่างไรว่า อาหารเสริมตัวไหน ที่มันดีมีคุณภาพ มีประโยชน์กับร่างกายเราจริง ๆ ยี่ห้อไหนที่ผลิตสินค้าออกมาแล้วมีความรับผิดชอบในเรื่องสุขภาพของผู้บริโภคจริง ๆ ไม่ได้หวังแต่กำไร ใช้ของไม่มีคุณภาพ ไม่มีการลงทุนพัฒนาในเรื่องมาตรฐานการผลิต ไม่มีการลงทุนในเรื่องการศึกษาวิจัย เพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้มีคุณภาพที่ดีที่สุด..
เราไม่มีทางรู้ได้เลย ถ้าไม่ได้ไปดูโรงงานที่ผลิต สินค้าบางอย่าง ซื้อวัตถุดิบสำเร็จมาแล้วบรรจุเองในครัวเรือนก็มี เพื่อน ๆ คงเคยเห็นคลิปการผลิตสินค้ากลุ่มหน้าใสกันมาบ้างนะ 🙂 ผมถามจริง ๆ ว่า ถ้าเห็นแบบนั้นแล้ว เพื่อน ๆ ยังกล้าใช้อีกเหรอ ??
ยิ่งตอนนี้โซเชียลมีเดียเข้ามามีบทบาทกับชีวิตคนมากขึ้น ทำให้เกิดการค้าขายในโซเชียลมากมาย อาหารเสริม ยาสมุนไพร ต่าง ๆ ก็มีขายมากมายในโลกโซเชียล ,เฟสบุค ยี่ห้อที่มี อย.รับรองก็ยังพอจะโอเคอยู่ ว่ามีหน่วยงานของรัฐเข้าไปดูแล แต่ยี่ห้อที่ไม่มี อย.รับรองนี่ เพื่อน ๆ ยังกล้าซื้อมากินอีก ผมว่า.. เพื่อนๆ ใจกล้ามาก ๆ เลย
เห็นคนชอบบอกว่า .. กินยาเยอะไม่ดี เดี๋ยวตับไต จะพัง !!! .. แต่กลับกล้ากินอาหารเสริมที่ไม่มีการรับรองคุณภาพเรื่องการผลิต สารอาหารมีตามฉลากรึป่าวก็ไม่รู้ ใส่อะไรไปบ้างก็ไม่รู้ อย่าง สเตียรอยด์ (ยาวิเศษรักษาทุกโรค แต่ระยะยาว เกิดโรคหนักกว่าเดิม) สารปรอท(มีเยอะเลยในครีมหน้าขาวที่ไม่ผ่าน อย. ทำให้ขาวไวดี แต่ระยะยาวแล้ว สีผิวจะเสียเป็นสีแดงดำ ด่างๆ สังเกตุดูได้เลย เพราะเป็นลักษณะเฉพาะของคนที่ใช้ ครีมที่มีสารปรอทเป็นส่วนประกอบ) มีข่าวโดนจับมากมายเลย https://www.facebook.com/FDAThai/posts/913487018718461
แต่สังเกตไหมว่า อย. ไทย มักจะวัวหายแล้วล้อมคอก ต้องรอให้เกิดปัญหาขึ้นมาก่อนถึงจะเข้ามา กวดขันจับกุม แต่ก็อาจจะเป็นเพราะมันมีสินค้าพวกนี้ผุดขึ้นมาเป็นดอกเห็ดก็ได้ อย. คงไปตามดูแลทั้งหมดไม่ทั่วถึง ยิ่งขายกันในกลุ่มเล็ก ๆ หรือตามเฟสด้วยแล้ว ยิ่งดูแลลำบาก
อีกอย่างสินค้าพวกนี้ใครจะทำขึ้นมาเป็นแบรนด์ของตัวเองก็ไม่ได้ยากเหมือนแต่ก่อน มีโรงงานที่รับทำ รับผลิตสินค้าเหล่านี้ได้โดยตรง แค่รู้ช่องทาง แค่นั้นเอง ลองอ่านบทความที่คนนี้เขียนดู แล้วจะรู้ว่า โลกเราทุกวันนี้อยู่ยาก http://www.nightphoomin.com/howtochoosegoodproduct/ พออ่านบทความที่คนนี้เขียนไว้ ผมก็รู้เลยว่า อาหารเสริมมันทำขึ้นมาได้ง่ายจริงๆ เพราะผมเคยไปตรวจพนักงานโรงงานหนึ่ง(ที่ไม่ได้เกี่ยวกับการผลิตอาหารเสริมเลย) แล้วเขาเอากระดาษที่มีสูตรอาหารเสริม สรรพคุณสำหรับลดน้ำหนัก มาให้ผมดู โดยที่เขาบอกว่า ไปคุยกับโรงงานมา ว่าต้องการทำอาหารเสริมลดน้ำหนัก มาขายให้เพื่อนๆพนักงานด้วยกัน ทางโรงงานก็เอาสูตรมาให้ดู แล้วก็บอกว่า ผลิตออกมาแล้วจะขอทาง อย.ให้ด้วย ผมก็คิดในใจว่า เออ มันทำกันง่ายๆอย่างนี้เลยเหรอ..
(ในสูตรอาหารเสริมที่พนักงานเอามาให้ดูนั้น ก็มีสารต่างๆ ที่เคลมกันว่า ได้ผลกับเรื่อง ลดน้ำหนัก เช่น ชาเขียว, ส้มแขก, กระชายดำ, L-Carnitene, Vitamin C, Alpha Lipoic acid มีอีกเยอะเลย รวม ๆ แล้ว 10 กว่าชนิดได้รวมอยู่ในเม็ดเดียว แต่ผมจำรายละเอียดได้ไม่หมด)
เสียดายที่ประเทศไทยไม่มีองค์กรกลางเหมือน Consumerlab.com หรือ องค์กรอื่น ๆ ที่ดูแลกวดขันเรื่องคุณภาพของอาหารเสริม ที่จะมาคอยตรวจเช็คเรื่อง ปริมาณสารอาหารที่ตรงตามฉลาก ไม่มีสารปนเปื้อนต่าง ๆ ตรวจเช็คเรื่องคุณภาพการผลิต ตรวจสอบกวดขันทุก ๆ ปี และก็ไม่มีองค์กรกลางที่กล้าเอาผลิตภัณฑ์ที่มีขายตามท้องตลาดในบ้านเรามาเปรียบเทียบกันให้เห็นชัดเจนเหมือนต่างประเทศ ผู้บริโภคอย่างพวกเราจะได้มีข้อมูลในการตัดสินใจเลือกซื้อ ผลิตภัณฑ์อาหารเสริมที่ดีและมีคุณภาพอย่างแท้จริง ได้ตามที่เราต้องการ
อยากให้เมืองไทยมีมั่งจัง …
ถ้าเพื่อน ๆ สนใจอยากอ่านหนังสือเล่มนี้ หาซื้อได้จ้า ที่ร้าน คิโนะคุนิยะ หรือ amazon.com (ไม่ได้ค่าโฆษณานะ 555555) จริง ๆ แล้วมันจะมีฉบับ Consumer edition ด้วย สำหรับผู้บริโภค จะมีข้อมูลที่อ่านเข้าใจง่ายกว่า แต่หาที่ขายในไทยทางเวบไม่เจอ แต่ในเล่มเล็กไม่ได้พูดถึงข้อมูลใหม่ ๆในเรื่องของ Vitamin D และ Iodine นะต้องเล่มใหญ่เท่านั้น
https://thailand.kinokuniya.com
amazon.com/NutriSearch-Comparative-Nutritional-Supplements-Americas
นพ. ชัยรัตน์ ผกาพันธ์ ผู้เขียน (Nurudin Love Yayah)
นฎา ผกาพันธ์ ผู้เรียบเรียง (Yayah Love Nurudin)
4betterhealth อัพเดทข้อมูลเป็น 6th edition
No responses yet