โรคแห่งความเสื่อม อังซไฮเมอร์(อัลไซเมอร์)
อัลไซเมอร์
โรคอัลซไฮเมอร์ หรือ โรคอัลไซเมอร์ เป็นภาวะสมองเสื่อมที่พบได้บ่อย ที่สุด โรคนี้ค้นพบเมื่อ พ.ศ. 2449 (ค.ศ. 1906) โดยจิตแพทยช์าวเยอรมันชื่อว่า อาลอยส์ อลัซไฮเมอร์ (Alois Alzheimer) และถูกตั้งชื่อตามท่าน โรคนี้จัดเป็นโรคความเสื่อมที่รักษาไม่หายและจัดเป็นอาการป่วยระยะสุดท้าย โดยทั่วไปแล้ว สามารถวินิจฉัยโรคอัลไซเมอร์ได้ในผู้ป่วยอายุมากกว่า 65 ปีแต่ก็พบโรคอัลไซเมอร์ชนิดหนึ่งคือ โรคอัลไซเมอร์ชนิดเกิด เร็ว ซึ่งเกิดในคนอายุน้อยความรุนแรงของโรคน้อยกว่า ประมาณการณ์ว่าในปี พ.ศ. 2549 มี ประชากรราว 26.6 ล้านคนทั่วโลกที่ป่วยเป็นโรคอัลไซเมอร์ และจะเพิ่มขึ้นถึง 4 เท่าใน พ.ศ. 2593
.
ถึงแม้ผู้ป่วยโรคอัลไซเมอร์แต่ละคนจะมีอาการแตกต่างกันออกไป แต่ก็มีอาการที่พบร่วมกันหลายประการ อาการแรกสุดที่พบคือความเครียด ซึ่งมักจะเข้าใจผิดว่าเป็นอาการที่เกิดขึ้นเองตามอายุ อาการที่พบในระยะแรกคือการสูญเสีย ความจำ เช่นพยายามจำข้อมูลที่เรียนรู้เมื่อไม่นานมานี้ไม่ได้ เมื่อแพทย์สงสัยว่าผู้ป่วยเป็นโรคอัลไซเมอร์จะยืนยันการ วินิจฉัยโดยการประเมินพฤติกรรมและทดสอบการรู้ และมักตามด้วยการสแกนสมอง เมื่อโรคดำเนินไประยะหน่ึงผู้ป่วย จะมีอาการสับสน หงุดหงิดง่ายและก้าวร้าว อารมณ์แปรปรวน เสียความสามารถทางภาษา สูญเสียความทรงจำ ระยะ ยาว และเพิกเฉยต่อสิ่งต่างๆ เนื่องจากผู้ป่วยเสียการรับความรู้สึก และต่อมาจะสูญเสียการทำงานต่างๆ ของร่างกาย และ เสียชีวิตในที่สุด การพยากรณ์โรคในผู้ป่วยแต่ละรายนั้นทำได้ยากเนื่องจากระยะเวลาของโรคมีความหลากหลาย การดำเนินโรคของโรคนี้จะมีช่วงระยะเวลาที่ไม่แสดงอาการแน่ชัดก่อนจะปรากฏอาการชัดเจน การคาดหมายคงชีพหลังไดร้ับ การวินิจฉัยว่าเป็นโรคอัลไซเมอร์โดยเฉลี่ยอยู่ประมาณ 7 ปี มีผู้ป่วยน้อยกว่าร้อยละ 3 ที่มีชีวิตอยู่ได้มากกว่า 14 ปีหลงัไดร้ับ การวินิจฉัย
.
สาเหตุของโรคอัลไซเมอร์ยังไม่เป็นที่เข้าใจดีนักในปัจจุบัน งานวิจัยบ่งชี้ว่าโรคนี้มี ความสัมพันธ์กับโครงสร้างคล้ายคราบในสมองที่เรียกว่า พลาก และแทงเกิล
.
การรักษาในปัจจุบันช่วย เกี่ยวกับอาการของโรคเพียงเล็กน้อย แต่ยังไม่มีการรักษาที่ช่วยชะลอหรือหยุดการดำเนินโรคอย่างแท้จริง ในปี พ.ศ. 2551 มีการทดลองทางคลินิกมากกว่า 500 งานวิจัยเพื่อทดสอบความเป็นไปได้ในการรักษาโรคอัลไซเมอร์แต่ก็ยังไม่มีงานวิจัยใดที่สรุปว่าประสบความสำเร็จ แม้มีวิธีต่างๆ มากมายที่เชื่อว่าป้องกันโรคอัลไซเมอร์แต่ก็ยังไม่ได้รับการพิสูจน์ว่า ช่วยชะลอการดำเนินโรคและลดความรุนแรงของโรคได้ แต่แนวทางแนะนำที่เชื่อว่าจะช่วยป้องกันและจัดการโรคได้นั้น คือการกระตุ้นทางจิตใจ การออกกำลังกาย และรับประทานอาหารครบทุกหมู่ อย่างเหมาะสม
.
เนื่องจากโรคอัลไซเมอร์เป็นโรคความเสื่อมที่รักษาไม่หาย การบำบัดและดูแลผู้ป่วยจึงนับเป็นสิ่งสำคัญยิ่ง
.
เพราะฉะนั้น การดูแลสุขภาพ เพื่อลดความเสี่ยงจึงให้ความสำคัญเพิ่มขึ้น เช่น การรับประทานอาหารเพื่อสุขภาพ, การออกกำลังกาย การพักผ่อนอย่างเหมาะสม เป็นต้น
.
หรือสั่งซื้อออนไลน์ง่ายๆ ได้ที่ https://liff.line.me/1572442362-jGxDDGRp/@4betterhealth
.
#usana #usanathailand #ยูซานา #ยูซานาเฮลธ์ไซเอนซ์อิงค์ #เพื่อสุขภาพ #สุขภาพ #4betterhealth #ผลิตภัณฑ์ยูซานา #เซลล์เซนเชียลส์ #biomega #usanaproducts #proflavanol30 #usanacellsentials #CellSentials #ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารยูซานา #เบาหวาน #อินชูลิน #โรคหัวใจ #โรคอัลไซเมอร์
แบ่งปันเรื่องราวนี้...

Categories:

คุณน่าจะชื่นชอบเรื่องเหล่านี้

Usana ไฟเบอร์จี้พลัส เอาใจคนไม่ชอบกินผัก เอาใจ […]
Usana(ยูซานา) จรินทรีย์โพรไบโอติกและพรีไบโอติก […]

No responses yet

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *