โพรไบโอติกมิตรแท้ระบบลำไส้

โพรไบโอติก มิตรแท้ระบบทางเดินอาหาร ลำไส้และระบบขับถ่าย เชื่อว่าหลายคนที่รักสุขภาพคงจะเคยได้ยินคำว่า “โพรไบโอติก” (Probiotic) หรือจุรินทรีย์ กันมาบ้าง บางคนอาจจะสงสัยว่ามันคืออะไร ให้ประโยชน์อะไรกับร่างกายได้บ้าง หรือช่วยป้องกันโรคต่างๆ ได้อย่างไร และประโยคที่ว่า ‘สุขภาพดีเริ่มต้นจากภายใน’ คือสิ่งที่แทนความเป็นโพรไบโอติกได้ดีที่สุด…

โพรไบโอติกมิตรแท้ระบบลำไส้

 

โพรไบโอติก (Probiotic) มิตรแท้ระบบทางเดินอาหาร

เชื่อว่าหลายคนที่รักสุขภาพคงจะเคยได้ยินคำว่า โพรไบโอติก (Probiotic) กันมาบ้าง บางคนอาจจะสงสัยว่ามันคืออะไร ให้ประโยชน์อะไรกับร่างกายได้บ้าง หรือช่วยป้องกันโรคต่างๆ ได้อย่างไร และประโยคที่ว่า ‘สุขภาพดีเริ่มต้นจากภายใน’ คือสิ่งที่แทนความเป็นโพรไบโอติกได้ดีที่สุด
ในวงการแพทย์และนักวิทยาศาสตร์ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันเชื่อกันว่า การรับประทาน โพรไบโอติก (Probiotic) ถือเป็นวิธีหนึ่งที่สามารถจะช่วยส่งเสริมสุขภาพให้แข็งแรงจากภายในร่างกายได้ โดยเฉพาะระบบทางเดินอาหาร รวมถึงระบบภูมิคุ้มกัน ซึ่งสามารถลดปัญหาท้องผูก ท้องเสีย อาหารไม่ย่อย เสริมภูมิคุ้มกัน และลดความรุนแรงของโรคเรื้อรังบางชนิด

 

โพรไบโอติก (Probiotic) คืออะไร

โโพรไบโอติก (Probiotic) คือจุลินทรีย์ชนิดดีที่อาศัยอยู่ในหลายระบบในร่างกาย เช่น ระบบทางเดินอาหาร ระบบทางเดินหายใจ เป็นต้น ตัวอย่างในทางเดินอาหาร จะเป็นจุลินทรีย์ที่มีคุณสมบัติซึ่งทนทานต่อกรดและด่าง สามารถจับที่บริเวณผิวของเยื่อบุลำไส้แล้วผลิตสารต่อต้านหรือกำจัดเชื้อจุลินทรีย์ ที่ไม่ดี ช่วยให้ลำไส้แข็งแรง และเมื่อร่างกายมีแบคทีเรียชนิดนี้อยู่ในประมาณที่เหมาะสมและเพียงพอจะสามารถช่วยกระตุ้นให้การทำงานของระบบทางเดินอาหารและระบบต่างๆ ของร่างกายทำงานได้อย่างสมดุล เนื่องจากจุลินทรีย์ที่เป็นมิตรเหล่านี้มีส่วนช่วยในการดูดซึมสารอาหาร การป้องกันโรค และการรักษาภาวะที่ผิดปกติของร่างกาย

Lactobacillus - www.ทำเบียร์.com By Homebrewthai

ประเภทของโพรไบโอติก (Probiotic)

แพทย์ผู้เชี่ยวชาญแบ่งประเภทของโพรไบโอติกออกเป็น 3 ลักษณะ

1. แลคโตบาซิลลัส (Lactobacillus)

เป็นแบคทีเรียจุลินทรีย์ชนิดดีในกลุ่มของโพรไบโอติกที่พบได้มากที่สุด สามารถพบได้ในอาหารธรรมชาติ เช่น โยเกิร์ต นมเปรี้ยว อาหารหมักดองบางชนิด ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อระบบขับถ่าย และเหมาะกับผู้ที่มีปัญหาไม่สามารถย่อยแลคโตสในนมได้

2. บิฟิโดแบคทีเรียม (Bifidobacterium)

หนึ่งในจุลินทรีย์โพรไบโอติกที่ได้รับการยอมรับว่าดีที่สุด พบได้ในอาหารที่ทำมาจากนม ช่วยในการบรรเทาอาการลำไส้แปรปรวน และมีการศึกษาในหลายชนิดว่ามีประโยชน์ต่อร่างกายที่แตกต่างกันออกไป เช่น ช่วยผลิตสารตั้งต้นของภูมิต้านทานในร่างกายได้

3. แซคคาโรไมซิส (Saccharomyces boulardii)

เป็นยีสต์ที่พบได้ในกลุ่มของโพรไบโอติก สามารถช่วยบรรเทาอาการท้องเสีย และปัญหาที่เกี่ยวข้องกับระบบทางเดินอาหาร แต่เป็นชนิดที่ไม่มีอยู่ในร่างกายคนตามธรรมชาติ

ประโยชน์ของโพรไบโอติก (Probiotic)

1. ป้องกัน และบรรเทาอาการท้องเสีย

อาการท้องเสีย เป็นความทรมานของร่างกายที่เกิดจากการติดเชื้อไวรัสหรือแบคทีเรีย ซึ่งพบได้บ่อยในเด็กเล็กผู้สูงอายุ และผู้ที่มีปัญหาเรื่องระบบทางเดินอาหาร (ท้องเสียเรื้อรัง) ในต่างประเทศมีการวิจัยวิธีแก้ปัญหานี้โดยแพทย์ได้นำเอาโพรไบโอติก (Probiotic) ในกลุ่มแลคโตบาซิลลัส (Lactobacillus) มาใช้ป้องกันภาวะท้องเสียในเด็กขาดอาหารโดยเฉพาะเด็กที่ไม่ได้รับการเลี้ยงดูด้วยนมแม่ ซึ่งผลลัพธ์พบว่าสามารถป้องกันได้ และยังลดระยะเวลา รวมถึงความรุนแรงของอาการท้องเสียที่เกิดจากภาวะอาหารเป็นพิษ และได้ผลดีมากในกลุ่มที่เกิดอาการท้องเสียจากเชื้อไวรัสโรต้า (Rotavirus)
นอกจากนี้ยังมีการใช้โพรไบโอติกจากยีสต์ (Saccharomyces boulardii) ในกรณีป้องกันและรักษาอาการท้องเสียเฉียบพลันในนักท่องเที่ยว และผู้สูงอายุที่เกิดจากการติดเชื้อ Clostidium difficile ในลำไส้ใหญ่ หลังจากการรับประทานยาปฏิชีวนะและป้องกันการเกิดซ้ำของโรคได้ โดยเฉพาะการใช้ต่อเนื่อง 28 วัน พบว่าช่วยลดโอกาสการเกิดซ้ำเหลือเพียงร้อยละ 34.6

2. แก้ปัญหาท้องผูก และรักษาโรคลำไส้อักเสบเรื้อรัง

โพรไบโอติก (Probiotic) กลุ่มแลคโตบาซัลลัส สามารถช่วยลดภาวะอักเสบของลำไส้ โดยการปรับสภาพของระบบทางเดินอาหารและลำไส้ให้กลับมาสู่ภาวะปกติทำให้เยื่อบุลำไส้หลั่งสารพิษออกมาน้อยลง นอกนี้ยังช่วยปรับลดปริมาณจุลชีพในลำไส้ ซึ่งเป็นสาเหตุการอักเสบทำให้ช่วยลดการอักเสบได้เป็นอย่างดี และสามารถลดการอักเสบซ้ำได้โดยการใช้แลคโตบาซิลลัสและบิฟิโดแบคทีเรียม

3. เพิ่มภูมิคุ้มกันของร่างกายและรักษาโรคภูมิแพ้

การที่เด็กมีโพรไบโอติก (Probiotic) ในลำไส้อย่างเพียงพอ จะช่วยให้ร่างกายมีภูมิคุ้มกันต่อการติดเชื้อได้ดี โดยเฉพาะป้องกันภาวะท้องเสียหรือการติดเชื้อในช่องท้อง นอกจากนี้สามารถลดการติดเชื้อในส่วนอื่นๆ ของร่างกายได้ เช่น ปอดโดยการเพิ่มภูมิคุ้มกันทั้งในลำไส้และในกระแสเลือด และลดการติดเชื้อแบคทีเรียได้หลายชนิด
สำหรับเด็กที่มีอาการภูมิแพ้ หรือมีน้ำมูก ผื่นคัน หอบหืด จนกลายเป็นโรคเรื้อรัง พบได้มากพอสมควร หลายรายมีอาการรุนแรงจนต้องใช้วิธีรักษาจำเพาะหลายรูปแบบ การให้โปรไบโอติกเป็นหนึ่งในวิธีที่จะช่วยปรับสภาพภูมิคุ้มกันในร่างกายช่วยลดการอักเสบและทำให้ปัญหาภูมิแพ้ลดลง ซึ่งมีการใช้ทั้งแลคโตบาซิลลัสและบิฟิโดแบคทีเรียม
4. ป้องกันโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่
แบคทีเรียที่อยู่ในลำไส้ใหญ่ มีส่วนของการเกิดมะเร็งลำไส้ใหญ่ โดยการสร้างสารก่อมะเร็งหรือเป็นตัวร่วมในการก่อมะเร็ง โดยเฉพาะผู้ที่ชอบรับประทานอาหารประเภทไขมันและเนื้อสัตว์จำนวนมาก จะยิ่งทำให้เป็นการเพิ่มสารในกลุ่มไนโตรเจนและอะโรมาติคเอมีนที่เป็นสาเหตุของมะเร็งลำไส้ใหญ่มากขึ้น แต่ถ้ามีโโพรไบโอติกที่ดีในลำไส้เพียงพอก็จะสามารถช่วยเปลี่ยนสภาพแบคทีเรียในลำไส้ ป้องกันไม่ให้เกิดสารพิษเหล่านี้ได้

5. ช่วยบรรเทาอาการท้องผูก

‘ท้องผูก’ ปัญหาสุขภาพระบบทางเดินอาหารที่นับวันคนไทยจะเป็นมากขึ้น มีการศึกษาเก็บสถิติพบว่า 24% ของคนไทยคิดว่าตัวเองมีปัญหาท้องผูก และมี 8% ที่พบปัญหาในการเบ่งอุจจาระลำบาก และอีก 3% มีปัญหาถ่ายอุจจาระได้น้อยกว่า 3 ครั้งต่อสัปดาห์ ฉะนั้นการได้รับโพรไบโอติก (Probiotic) อย่างเพียงพอสามารถช่วยลดอาการท้องผูกได้

มาเพิ่มโพรไบโอติก (Probiotic) ให้ร่างกายกันเถอะ

จำไว้ว่าการจะมีสุขภาพดีแบบครบองค์รวม จะต้องดูแลจากภายในด้วยการรักษาสมดุลจุลินทรีย์ให้เป็นปกติและมีอย่างเพียงพอ พฤติกรรมใดๆ ที่ถือเป็นการรบกวน และกระตุ้นให้จุลินทรีย์ชนิดดีนี้ลดลง เช่น การสูบบุหรี่ การดื่มแอลกอฮอล์ การพักผ่อนไม่เพียงพอ การรับประทานอาหารที่ไม่มีประโยชน์ก็ต้องมีการปรับเปลี่ยน เพราะเมื่อจุลินทรีย์ลดลงจนเหลือน้อยก็เท่ากับว่าเป็นการเพิ่มโอกาสให้ร่างกายขาดความสมดุล และผิดปกติ รวมทั้งเสี่ยงที่จะมีได้รับเชื้อโรคต่างๆ เข้าสู่ร่างกายได้ ซึ่งการรับประทานโพรไบโอติกทั้งจากอาหาร หรืออาหารเสริมจึงเป็นทางเลือกอย่างหนึ่งในการเสริมจุลินทรีย์ชนิดดีและรักษาสมดุลให้กับจุลินทรีย์ในร่างกายได้

Probiotic Foods List: The Best Food Sources for Probiotics–Nature Made®

ขอบคุณข้อมูลจาก :

https://www.bumrungrad.com/th/health-blog/july-2019/probiotics-and-prebiotics

https://www.nonthavej.co.th/Probiotics.php

แบ่งปันเรื่องราวนี้...

Categories:

คุณน่าจะชื่นชอบเรื่องเหล่านี้

Usana ไฟเบอร์จี้พลัส เอาใจคนไม่ชอบกินผัก เอาใจ […]
Usana(ยูซานา) จรินทรีย์โพรไบโอติกและพรีไบโอติก […]

No responses yet

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *