เคล็ดไม่ลับ ยูซานาน้ำมันปลาดีต่อสุขภาพช่วยบำรุงหัวใจ สมอง ดวงตา
น้ำมันปลาไม่ใช่น้ำมันตับปลา เพราะน้ำมันปลามีส่วนประกอบของกรดไขมันไม่อิ่มตัว ปริมาณสูงซึ่งมีคุณประโยชน์และจำเป็นต่อร่างกาย เรียกว่า กรดไขมันกลุ่มโอเมก้า 3 ซึ่งมีอยู่ 2 ชนิด คือ Eicosapentaenoic acid (EPA) และ Docosahexanoic acid (DHA)
EPA มีผลวิจัยว่าช่วยลดไขมันไตรกลีเซอร์ไรด์ในเลือด พร้อมทั้งป้องกันการอุดตันของหลอดเลือด โดยลดการเกาะตัวของเกล็ดเลือด ทำให้การไหลเวียนของเลือดดีขึ้น และลดโอกาสในการเกิดโรคหัวใจได้ นอกจากนั้น EPA ยังช่วยลดอาการปวดอักเสบตามข้อในคนสูงอายุ
DHA ช่วยเสริมสร้างพัฒนาการทางสมอง การเรียนรู้ความจำ ตลอดจนช่วยพัฒนาการมองเห็น จึงมีประโยชน์อย่างมากในเด็ก และวัยรุ่นที่ต้องการพัฒนาการของสมอง ในวัยทำงานที่เครียดกับการทำงาน หรือผู้ที่ใช้สายตาเป็นอย่างหนักเป็นประจำอาทิเช่น คนที่ใช้คอมพิวเตอร์เป็นเวลานาน
เราเข้าใจว่า EPA และ DHA มีความสำคัญต่อระบบประสาทและสมอง และปริมาณที่ร่างกายควรได้รับต่อวันก็สำคัญเช่นกัน ไม่ใช่ทานอาหาร ทานปลาแซลม่อน มีโอเมก้า 3 และเราได้ EPA และ DHA และจบใน 1 วันร่างกายได้รับแล้ว แต่หมายถึง 1 วันร่างกายเราควรได้รับที่ 1000 มิลลิกรัม ถึงจะเพียงพอต่อการนำไปใช้ในระดับการดูแลสุขภาพ ดังนั้น ถ้าวันนี้มื้ออาหารของเราไม่สามารถให้ได้ การเสริมจึงสำคัญ
USANA Biomega (น้ำมันปลา)
ให้โอเมก้ามากกว่าทั่วไปถึง 3 เท่า
ให้ EPA และ DHA สูงถึง 1,050 มก.
ให้วิตามินD 3 110IU
Biomega=น้ำมันปลา
สกัดจากปลาทะเลน้ำลึก Usana เลือกใช้ปลาตัวเล็กเนืองจากลดความเสี่ยงการสะสมสารพิษในปลาที่น้อยกว่าการใช้ปลาตัวใหญ่ และปลอดโลหะหนัก 100% โดยกระบวนการกลั่นแบบโมเลกุลคู่ กรอง 2 ชั้น
ส่งเสริมสุขภาพอย่างไรบ้าง?
เพิ่มไขมันดี ลดไขมันเลวในเลือด
เลือดไหลเวียน ไมเกรนดีขึ้น
ลดการอักเสบในร่างกาย เช่นตามข้อตามข้อต่างๆ ความดันสูง ความดันต่ำ
ผิวชุ่มชื้น ไม่แห้ง
ที่สำคัญ ไม่มีกลิ่นคาว เพราะใส่ผิวมะนาวลงไป เวลาเรอออกมาจึงไม่มีกลิ่นคาวปลา (ปัญหาที่คนทานน้ำปลาจะเข้าใจดีเรื่องการเรอมีกลิ่นคาว)
บำรุงสมอง ป้องกันอัลไซเมอร์
Biomega 1,050 มิลลิกรัม
EPA 290 มก.
DHA 235 มก.
และให้วิตามินD 3 110IU อีกด้วย
วิตามินดี 3 : มีความสำคัญต่อการแบ่งตัวของเซลล์ให้เป็นไปอย่างปกติ ช่วยบำรุงสุขภาพกระดูกและฟันให้แข็งแรง มีส่วนช่วยในการดูดซึมและใช้ประโยชน์ของแคลเซียมและฟอสฟอรัส มีบทบาทต่อการทำงานของทั้งระบบภูมิคุ้มกัน และกล้ามเนื้อ
Comments are closed