“หลอดเลือดหัวใจตีบ ภัยเงียบ…ที่ใกล้ตัวกว่าที่คิด”
.
ความเสื่อมข้างในที่มองไม่เห็นด้วยตาเปล่า
จากพฤติกรรมที่เปลี่ยนไป ความเสี่ยงการเกิดโรคก็สูงขึ้นตามไปด้วย….
พฤติกรรมการใช้ชีวิตของทุกคนที่เปลี่ยนไป โดยเฉพาะในสังคมเมือง อาจทำให้การใส่ใจสุขภาพของตนเองน้อยลง แถมเมื่ออายุมากขึ้น ร่างกายของเราก็ย่อมเสื่อมถอยไปตามเวลา จนเป็นบ่อเกิดของโรคภัยไข้เจ็บต่างๆ ที่ต่างแวะเวียนมาหาแบบไม่ให้ทันตั้งตัว โดยเฉพาะอย่างยิ่ง “โรคหลอดเลือดหัวใจตีบ” ที่หลายคนอาจมองเป็นเรื่องไกลตัว แต่จริงๆ แล้วกลับใกล้ตัวกว่าที่คิด แถม “โรคหลอดเลือดหัวใจตีบ” ก็ยังเป็น 1 ในโรคที่คร่าชีวิตของคนไทยเป็นอันดับต้นๆ เลยทีเดียว
.
โรคหลอดเลือดหัวใจตีบเกิดจากอะไร?
“โรคหลอดเลือดหัวใจตีบ” เกิดจากผนังหลอดเลือดหัวใจ เสื่อมสภาพ ทำให้มีความหนาตัวขึ้นจากการอุดตันของไขมันและเนื้อเยื่อ เป็นเหตุให้หลอดเลือดตีบ การไหลเวียนเลือดไปสู่หัวใจลดน้อยลงและหล่อเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจได้ไม่เพียงพอ จนอาจทำให้เกิด “ภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด” ได้
.
“ภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด” นี่เอง ที่ส่งผลให้ร่างกายแสดงอาการออกมาเป็นอาการเจ็บหน้าอกหนักๆ แถมถ้าเกิดไขมันที่สะสมอยู่บนผนังหลอดเลือดชั้นในเกิดการแตกตัวออกกลายเป็นลิ่มเลือด ก็อาจทำให้เกิดการอุดตันแบบฉับพลัน ซึ่งอาจนำไปสู่ “ภาวะกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน” และเสียชีวิตอย่างกะทันหันได้
.
อาการของโรคหลอดเลือดหัวใจเป็นอย่างไร?
– มักจะเหนื่อยง่ายเฉียบพลัน เวลาที่ออกกำลังหรือต้องใช้แรงจำนวนมาก
– หายใจหอบ หายใจเข้าได้ไม่เต็มปอด และไม่สามารถนอนราบกับพื้นได้
– หน้ามืด เวียนหัว และแน่นหน้าอก เนื่องจากความดันโลหิตต่ำแบบเฉียบพลัน
– เจ็บหน้าอกเหมือนถูกเค้นแรงๆ หมายรวมไปถึงอาการร้าวตั้งแต่ คอ กราม ไหล่ และแขน 2 ข้าง
– ในกรณีที่รุนแรง อาจหมดสติหรือมีภาวะกล้ามเนื้อหัวใจวาย
.
ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ
ปัจจัยเสี่ยงของการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ มีทั้งปัจจัยเสี่ยงที่ควบคุมไม่ได้ เช่น เพศ อายุ เชื้อชาติ และพันธุกรรม โดยมักจะเกิดในกลุ่มผู้สูงอายุ โดยเฉพาะเพศชาย แต่หากเพศหญิงหมดประจำเดือนก็มีโอกาสเสี่ยงที่จะเป็นโรคเช่นกัน แล้วถ้ายิ่งสมาชิกในครอบครัวมีประวัติการป่วยที่เกี่ยวข้องกับโรคนี้มาก่อน ก็ยิ่งเพิ่มโอกาสเสี่ยงมากขึ้น
.
ส่วนปัจจัยเสี่ยงที่สามารถควบคุมได้ มักเป็นปัจจัยเสี่ยงเกิดจากพฤติกรรมของตนเอง ซึ่งโรคหลอดเลือดหัวใจตีบจะเกิดขึ้นเมื่อมีอาการและพฤติกรรม ดังต่อไปนี้
– มีภาวะอ้วนหรือน้ำหนักเกิน
– เป็นโรคเบาหวาน
– มีความดันโลหิตสูง
– มีภาวะไขมันในเลือดผิดปกติ
– มีความเครียดสะสม
– ไม่ค่อยออกกำลังกาย
– ไม่ค่อยกินผักและผลไม้
– สูบบุหรี่จัด
ซึ่งสามารถลดปัจจัยเสี่ยงเหล่านี้ได้ เพียงแค่เราปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิตให้ดีขึ้น
.
แล้วจะป้องกันไม่ให้เกิดโรคหลอดเลือดหัวใจตีบได้อย่างไรบ้าง?
ถึงแม้ส่วนหนึ่งของการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจจะมาจากปัจจัยที่หลีกเลี่ยงไม่ได้อย่างพันธุกรรม เพศ และอายุ แต่ก็ยังมีปัจจัยเสี่ยงอีกหลายอย่างที่มาจากการกระทำของเราเอง เพราะฉะนั้นการป้องกันตนเองให้ห่างไกลจากโรคนี้ที่ดีที่สุด ก็คือ การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิตที่อาจส่งผลกระทบต่อสุขภาพ จนเป็นสาเหตุของการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ ตามแนวทางต่อไปนี้
.
-เริ่มจากปรับพฤติกรรมการกินให้เหมาะสมกับจำนวนพลังงานที่ร่างกายต้องใช้ต่อวัน เพื่อให้พลังงานในร่างกายเกิดความสมดุล
-เลือกกินอาหารที่มีแคลอรี่ (Kcal) หรือไขมันต่ำ และเน้นกินผักผลไม้ให้หลากหลายมากขึ้นรวมถึงลดอาหารที่หวานจัดและเค็มจัด
-ออกกำลังกายและทำกิจกรรมที่ต้องเคลื่อนไหว ประมาณ 30 นาทีต่อวัน เพื่อพัฒนาความแข็งแรงของระบบการทำงานหัวใจ
-งดการสูบบุหรี่ และผ่อนคลายความเครียดด้วยกิจกรรมหรืองานอดิเรกที่ชอบ เพื่อลดความตึงเครียด
.
สำหรับการดูแลสุขภาพด้วย Usana ส่งเสริมการดูแลสุขภาพด้วย
-เซลล์เซนเชียล สร้างสมดุลร่างกายโภชนาการพื้นฐานที่ร่างกายต้องการ วิตามินแร่ธาตุรวมที่จำเป็นที่ควรได้รับในแต่ละวัน รากฐานที่ดีสมดุลที่ดีทำให้ร่างกายทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ (การดูแลระดับเซลล์)
–ไบโอเมก้า กรดไขมันจำเป็นที่ร่างกายควรได้รับในแต่ละวัน ไขมันดีที่ให้ EPA และ DHA จัดการปัญหาคอเลสเตอรอล ไตรกลีเซอร์ไร ต้นเหตุของปัญหาไขมันในหลอดเลือด
-โปรฟาวานอล ความยืดหยุ่นของหลอดเลือด ลดความเสี่ยงหลอดเลือดเปราะแตก และระบบไหลเวียนโลหิต ความหนืดของเหลือ
– โคคิวเทน ส่งเสริมการทำงานของหัวใจและพลังงานของร่างกายรวมถึงระบบไหลเวียนโลหิตและหลอดเลือดสมอง
.
รู้จัก Usana เพิ่มขึ้นที่ : https://4betterhealths.com/
หรือสั่งซื้อออนไลน์ง่ายๆ ได้ที่ https://shop.line.me/@4betterhealth
.
#usana #usanathailand #ยูซานา #ยูซานาเฮลธ์ไซเอนซ์อิงค์ #UsanaMegaTeam #MegaTeamThailand #เพื่อสุขภาพ #สุขภาพ #4betterhealth #ผลิตภัณฑ์ยูซานา #เซลล์เซนเชียลส์ #cellsentials #biomega #usanaproducts #proflavanol30 #usanacellsentials #CellSentials #ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารยูซานา
No responses yet