รู้รอบ…คอเลสเตอรอลกับโรคหัวใจ

ถ้าระดับคอเลสเตอรอลมีมากกว่าความต้องการของร่างกาย ทำให้เกิดภาวะคอเลสเตอรอลในเลือดสูง ซึ่งเป็นปัจจัยเสี่ยงสำคัญของการเกิดโรคหัวใจ การลดและควบคุมระดับคอเลสเตอรอลให้มีปริมาณที่พอเหมาะจะช่วยลดปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจอุดตันได้

รู้รอบ...คอเลสเตอรอลกับโรคหัวใจ

 

คอเลสเตอรอลคืออะไร

คอเลสเตอรอลเป็นไขมันชนิดหนึ่งที่ร่างกายสร้างขึ้น มีลักษณะเป็นไขคล้ายขี้ผึ้ง ทำหน้าที่ช่วยสังเคราะห์ฮอร์โมนและเป็นส่วนหนึ่งของเยื่อบุเซลล์ คอเลสเตอรอลส่วนใหญ่ถูกสังเคราะห์ขึ้นจากตับ บางส่วนพบอยู่ในอาหารที่เรารับประทาน ซึ่งมีจำนวนน้อยกว่าที่ร่างกายสร้างขึ้น นอกจากนี้คอเลสเตอรอลยังเกิดจากไขมันชนิดอิ่มตัว ถ้าอาหารที่รับประทานมีไขมันชนิดอิ่มตัวสูงจะทำให้ปริมาณคอเลสเตอรอลในร่างกายเพิ่มมากขึ้นเช่นเดียวกัน

 

ถั่งเช่า ไอยรา, จำหน่าย ถั่งเช่า, ถั่งเช่าสีทอง, ถั่งเช่าสีทองแท้ 100%

ชนิดของคอเลสเตอรอล

เนื่องจากคอเลสเตอรอลเป็นไขมันชนิดหนึ่งที่ไม่สามารถละลายอยู่ในกระแสเลือดได้โดยลำพัง ต้องอาศัยการรวมตัวกับโปรตีนจึงจะอยู่ในกระแสเลือดได้ การรวมตัวระหว่างไขมันและโปรตีนนี้เราเรียกว่า ไลโพโปรตีน (Lipoprotein)
คอเลสเตอรอลมี 2 ชนิด คือ
HDL (High Density Lipoprotien) เป็นไลโพโปรตีนที่มีความหนาแน่นสูง
LDL (Low Density Lipoprotien) เป็นไลโพโปรตีนที่มีความหนาแน่นต่ำ
HDL ทำหน้าที่นำคอเลสเตอรอลส่วนเกินส่งไปทำลายที่ตับเราจึงเรียก HDL ว่าเป็นคอเลสเตอรอลชนิดดี
LDL ทำงานตรงข้ามกับ HDL คือ ทำให้แผ่นหรือคราบของไขมันเกาะพอกอยู่ในหลอดเลือดแดง เราจึงเรียก LDL ว่าคอเลสเตอรอลผู้ร้าย
คอเลสเตอรอลทั้ง 2 ชนิดนี้หากมีอยู่ในปริมาณที่เหมาะสมจะช่วยป้องกันโรคหัวใจได้

 

คอเลสเตอรอล (Cholesterol) จำเป็นต่อร่างกายอย่างไร

 

ระดับคอเลสเตอรอลที่พึงประสงค์

การตรวจวัดระดับคอเลสเตอรอลสามารถทำได้ง่ายๆ โดยการเจาะเลือด หน่วยวัดระดับคอเลสเตอรอลในเลือด คือ (คอเลสเตอรอล) มิลลิกรัม/(เลือด) เดซิลิตร

ตารางแสดงระดับคอเลสเตอรอลที่พึงประสงค์

คอเลสเตอรอลรวม ต่ำกว่า 200 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร
LDL คอเลสเตอรอล ต่ำกว่า 130 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร ในบุคคลทั่วไป
ต่ำกว่า 100 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร ในผู้ป่วยโรคเส้นเลือดตีบและโรคเบาหวาน
HDL คอเลสเตอรอล สูงกว่า 40 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร ในผู้ชาย
สูงกว่า 55 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร ในผู้หญิง

ปัจจัยที่ทำให้ระดับไขมันในเลือดสูง

การรับประทานอาหารที่ไม่เหมาะสม เช่น อาหารที่มีไขมันอิ่มตัวที่พบในผลิตภัณฑ์จากสัตว์ และไขมันทรานส์ที่พบในคุกกี้ เบเกอรี่ เนื้อแดง และผลิตภัณฑ์จากนมไขมันครบส่วน จะเพิ่มระดับคอเลสเตอรอล
– โรคอ้วน คือ คนที่มีดัชนีมวลกาย (body mass index: BMI) ตั้งแต่ 30 ขึ้นไปจะเสี่ยงต่อการมีคอเลสเตอรอลสูง
– ขาดการออกกำลังกาย การออกกำลังกายช่วยเพิ่ม HDL ในร่างกายหรือคอเลสเตอรอลชนิดดี ในขณะที่เพิ่มขนาดของอนุภาคที่ประกอบเป็น LDL หรือคอเลสเตอรอลที่ไม่ดี ซึ่งจะทำให้เป็นอันตรายน้อยลง
– สูบบุหรี่ การสูบบุหรี่ทำลายผนังหลอดเลือดทำให้มีแนวโน้มที่จะสะสมไขมัน การสูบบุหรี่อาจทำให้ระดับ HDL หรือคอเลสเตอรอลชนิดดีลดลง
– อายุ เมื่ออายุมากขึ้นจะมีความเสี่ยงต่อการมีคอเลสเตอรอลสูงเพิ่มขึ้น ตับจะกำจัด LDL คอเลสเตอรอลได้น้อยลง
– โรคเบาหวาน น้ำตาลในเลือดสูงทำให้ระดับคอเลสเตอรอลที่เป็นอันตรายซึ่งเรียกว่าไลโปโปรตีนชนิดความหนาแน่นต่ำ (very-low-density lipoprotein: VLDL) สูงขึ้น และ HDL คอเลสเตอรอลลดลง น้ำตาลในเลือดสูงยังทำลายเยื่อบุหลอดเลือดแดงด้วย

ข้อแนะนำสำหรับการลดระดับคอเลสเตอรอลในเลือด

คอเลสเตอรอลในเลือดสูงอาจเกิดจากสาเหตุหลายประการ รวมถึงน้ำหนักตัวและชนิดอาหารที่รับประทาน การเปลี่ยนแปลงนิสัยการบริโภคและเลือกรับประทานอาหารที่มีสัดส่วนเหมาะสมจะช่วยลดระดับคอเลสเตอรอลได้

 

8 อาหารช่วยปกป้องหลอดเลือดแดง | HD สุขภาพดี เริ่มต้นที่นี่
อ้างอิง
https://www.bumrungrad.com/th/conditions/cholesterol-heart-disease
แบ่งปันเรื่องราวนี้...

Categories:

คุณน่าจะชื่นชอบเรื่องเหล่านี้

ยูซานาโคคิว 30 (USANA CoQ 30) ยิ่งอายุมากขึ้น […]
ยูซานาไบโอเมก้า (ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร) ไม่ใช่ยา […]
Usana ไฟเบอร์ เพื่อสุขภาพลำไส้และการขับถ่ายที่ […]

No responses yet

ใส่ความเห็น