ความสำคัญของแคลเซียมต่อร่างกาย
กระดูกเป็นโครงสร้างของร่างกาย ทำให้ร่างกายทรงตัวอยู่ได้ และเป็นที่ยึดเกาะของกล้ามเนื้อ ซึ่งแร่ธาตุที่เป็นองค์ประกอบสำคัญของกระดูก คือ แคลเซียม
แคลเซียมไม่ได้มีบทบาทต่อกระดูกและฟันเท่านั้น แต่ยังสำคัญต่อระบบต่างๆ ของร่างกายด้วย หน้าที่ของแคลเซียมต่อร่างกายพอจะจำแนกได้ดังนี้
- สร้างกระดูก ฟัน เล็บ และเส้นผม รวมทั้งซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอ
- ทำให้ระบบประสาทส่วนที่ควบคมการยืดและหดตัวของกล้ามเนื้อทำงานเป็นปกติ
- ควบคุมให้กลไกการแข็งตัวของเลือดเป็นไปตามปกติ
- ช่วยระบบประสาทในการส่งสัญญาณให้เร็วขึ้น
- เป็นส่วนผสมของน้ำย่อยทุกชนิด และช่วยให้ระบบของน้ำย่อยทำงานเป็นปกติ
- ช่วยในการดูดซึมวิตามินบี 12
- ป้องกันอาการผิดปกติในวัยใกล้หมดประจำเดือน
จากหน้าที่ทั้งหมดจะเห็นได้ว่าแคลเซียมมีความจำเป็นต่อร่างกายมาก หน้าที่โดยรวมของแคลเซียมในเด็กและผู้ใหญ่คงไม่ต่างกัน เพียงแต่สัดส่วนของการทำหน้าที่อาจไม่เท่ากัน คือ ในเด็กวัยที่กำลังเจริญเติบโตทุกด้านโดยเฉพาะกระดูกและฟัน แคลเซียมจึงต้องทำหน้าที่หนักไปในด้านนี้ แต่ก็ยังต้องรักษาหน้าที่อื่นให้ปกติด้วย ส่วนใหญ่ผู้ใหญ่หลังจากอายุ 35 ปีไปแล้ว แคลเซียมไม่สามารถเสริมสร้างกระดูกได้ แต่ก็ยังต้องทำหน้าที่รักษาสมดุลของเนื้อกระดูกให้อยู่ได้นานที่สุดโดยขึ้นอยู่กับปัจจัยอื่นอีกหลายประการ
ความต้องการแคลเซียมในแต่ละวัน
ในแต่ละวันของคนเรามีความต้องการแคลเซียมต่างกัน ในวัยเด็กย่อมต้องการมากกว่าผู้ใหญ่ หรือแม้แต่ผู้ใหญ่ที่มีภาวะต่างกัน เช่น หญิงตั้งครรภ์หรือให้นมบุตรก็ยังต้องการมากกว่าหญิงปกติ ค่าโดยประมาณของความต้องการแคลเซียมในปัจจุบันนี้ คนเราจะใช้แคลเซียมสำหรับการเสริมสร้างกระดูกตั้งแต่อยู่ในท้องแม่ จนถึงอายุประมาณ 30-35 ปี หลังจากนั้นไปแล้ว การเสื่อมสลายจะมีมากกว่าการเสริมสร้าง การกินแคลเซียมในช่วงหลังอายุ 30-35 ปี ไม่ช่วยเสริมสร้างกระดูกแต่ช่วยลดการเสื่อมสลายได้ ดังนั้นถ้าเรากินแคลเซียมมากพอตั้งแต่ก่อนอายุ 35 ปี จะช่วยให้เรามีกระดูกที่หนาแน่นดีพอเมื่อถึงคราวต้องเสื่อมสลายไปตามวัย กระดูกก็มักจะไม่เปราะบางเร็วเกินไป วัยรุ่นเป็นวัยที่มีการเจริญเติบโตของกระดูกทั้งด้านยาว (สูง) และความหนาแน่น (ความแข็งแรง) มากที่สุด จึงต้องการแคลเซียมมากกว่าวัยอื่นๆ
แคลเซียมไม่พอ เสี่ยงกระดูกพรุน
หากได้รับแคลเซียมไม่เพียงพอร่างกายจะดึงแคลเซียมที่สะสมอยู่ในกระดูกออกมาใช้ เมื่อเกิดขึ้นเป็นประจำแคลเซียมในกระดูกจะถูกดึงออกมามาก จนกระทั่งกระดูกพรุนและเปราะ ทำให้ความแข็งแรงของกระดูกลดลงจึงเกิดโอกาสแตกหักได้ง่ายแม้ว่าได้รับแรงกระแทกเพียงเล็กน้อย
ปัจจัยส่งเสริมการดูดซึมแคลเซียม
- วิตามินดี เป็นตัวเร่งให้มีการสังเคราะห์โปรตีนในชั้นเยื่อมูกของผนังลำไส้ ซึ่งแคลเซียมจะเกาะติดและถูกลำเลียงผ่านผนังลำไส้เข้าสู่กระแสโลหิต ดังนั้นเมื่อมีวิตามินดี การดูดซึมแคลเซียมที่ลำไส้เกิดได้ดีกว่า วิตามินดีได้จาก 2 แหล่ง คือ จากแสงแดดและอาหารจำพวกปลา ไข่แดง ตับ เนย เป็นต้น
- ความเป็นกรดอ่อน ๆ ในอาหาร แคลเซียมจะละลายได้ง่ายในอาหารที่เป็นกรดอ่อน ๆ
- แลคโตส ช่วยในการดูดซึมแคลเซียมได้ดีขึ้น 15 – 50% ดังนั้นนมสดจึงเหมาะที่จะเป็นอาหารสำหรับแหล่งแคลเซียม
แหล่งอาหารแคลเซียม
- นมและผลิตภัณฑ์นม เป็นแหล่งของแคลเซียมที่ดี เนื่องจากนมมีปริมาณแคลเซียมสูงและร่างกายนำไปใช้ได้มาก นม 1 กล่อง (250 ซีซี) ให้แคลเซียม 300 มิลลิกรัม ฉะนั้นการดื่มนม โดยเฉพาะนมพร่องมันเนย หรือไขมันต่ำวันละ 2 กล่อง จะได้แคลเซียมถึง 2ใน 3 ที่ร่างกายต้องการใน 1 วัน
- ปลาและสัตว์เล็กอื่น ๆ ที่สามารถกินได้ทั้งกระดูกหรือเปลือก เช่น ปลาซิว ปลาเกร็ดขาว ปลาไส้ตัน ปลาซาร์ดีนกระป๋อง กุ้งฝอย กุ้งแห้ง ฯลฯ
- ถั่วเหลืองและผลิตภัณฑ์ถั่วเหลืองเป็นแหล่งของแคลเซียม เช่น เต้าหู้แข็ง เต้าฮวย (ไม่ใช่เต้าหู้หลอดไข่) ฯลฯ
- ผักใบเขียว ผักที่มีแคลเซียมสูงและร่างกายนำไปใช้ได้มาก เช่น ผักกวางตุ้ง ผักคะน้า ฯลฯ
ส่งเสริมสุขภาพกระดูกด้วย Usana Macnecal D
No responses yet